เผยแพร่ผลงาน เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางริสา ชูช่วยสุวรรณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า
(โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด) เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ปีที่รายงาน 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจุดประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ ข้อ 1 เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ข้อ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ข้อ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) หนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เครื่องมือทั้ง 4 ฉบับได้รับการหาคุณภาพตามขั้นตอนและวิธีการหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสมมากที่สุด (=4.60) หนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสมมากที่สุด (=4.61) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.25 – 0.72 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 – 0.66 มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจมีระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเหมาะสมมากที่สุด (=4.64)
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
- รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอิเล็กทรอนิกส์ ชุดเล่าเรื่องเมือง
ร้อยเอ็ดร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีประสิทธิภาพ 82.33/81.22
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน
อิเล็กทรอนิกส์ ชุดเล่าเรื่องเมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก (=4.30)